อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวและโอกาสความร่วมมือของไทย

อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวและโอกาสความร่วมมือของไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 13 พ.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 13 พ.ค. 2567

| 1,059 view

อุตสาหกรรมเกิดใหม่เชิงยุทธศาสตร์: อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการท่องเที่ยว
ของเมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน

    ปัจจุบัน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยว ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่รัฐบาลกลางจีนหันมาส่งเสริมการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศมากยิ่งขึ้น โดยมีการดำเนินการตามแผนการพัฒนา “สือซื่ออู่ (十四五)” เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสมัยใหม่ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยเน้นการชูวัฒนธรรมจีนผสมผสานกับการท่องเที่ยว และสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่แข่งแกร็งระดับโลก

    เมืองเซี่ยเหมินได้กำหนดให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเกิดใหม่เชิงยุทธศาสตร์ของเมืองเซี่ยเหมิน ภายใต้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ “4+4+61” ซึ่งเป็นการกำหนด ทิศทางการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของเมืองเซี่ยเหมิน ซึ่งสอดรับกับแผนการพัฒนา “สือซื่ออู่” ของจีนกลาง บทความฉบับนี้ BIC จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการวางนโยบายของเมืองเซี่ยเหมินในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเกิดใหม่เชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของมณฑลฝูเจี้ยน รวมถึงโอกาสความร่วมมือกับไทย

    ในปี 2566 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเมืองเซี่ยเหมินเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเซี่ยเหมินเป็น 1 ใน 10 อันดับเมืองที่มีวิสาหกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวลงทุนมากที่สุดในจีน มีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมทะลุ 1 ร้อยล้านคน/ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.26 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มีรายได้จากการท่องเที่ยวทะลุ 1.5 แสนล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จัดอยู่ในอันดับ 1 ของมณฑลฝูเจี้ยน

    โดยในปี 2567 เมืองเซี่ยเหมินได้ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมวัฒนธรรม (Cultural Industry) มากกว่า 2.5 แสนล้านหยวนและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่า 2 แสนล้านหยวน โดยเน้นกระตุ้นการใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยว เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศของจีน โดยเมืองเซี่ยเหมินออกนโยบาย แผนปฏิบัติการการพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคุณภาพสูงของเมืองเซี่ยเหมิน (ปี 2566 - 2568) โดยมีมาตรการที่สำคัญ ดังนี้

    1. ผลักดันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เมืองเซี่ยเหมินเป็นถิ่นกำเนิดของชาวจีนโพ้นทะเลนับหลายล้านชีวิตที่ย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากอยู่ที่ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังเป็นเมืองที่อบอวลไปด้วยวัฒนธรรมของชาวหมิ่นหนานหรือชาวฮกเกี้ยนใต้ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งเป็นมรดกตกทอดของสมัยการเผยแพร่อาณานิคมของประเทศตะวันตก ซึ่งรัฐบาลเมืองเซี่ยเหมินได้เล็งเห็นจุดแข็งของการมีวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น จัดตั้งเขตคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมขึ้น อาทิ เกาะเปียโน ส่งเสริมสวนพฤกษศาสตร์ (Botanical Garden) เมืองเซี่ยเหมินให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับ 5A (ระดับสูงที่สุดในจีน) และสร้างถนนจงซานให้เป็น ย่านแห่งการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมถึงผลักดันการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา/การวิจัยหรือการพักผ่อน

อุต   บทความอุตสาหกรรมสร้างสรรค์   อุต2  

     2. ยกระดับอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Cultural & Creative Industries)
         2.1) อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของเมืองเซี่ยเหมิน เน้นการผลักดันห่วงโซ่อุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ โดยส่งเสริมให้เมืองเซี่ยเหมินเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเทศกาลภาพยนต์ไก่ทองคำและไป๋ฮวา (Golden Rooster and Hundred Flowers Film Festival) เพื่อช่วยสร้างแบรนด์แก่เมืองเซี่ยเหมินในฐานะ “เมืองแห่งภาพยนตร์ของจีน” ขณะเดียวกันมีการสร้างฐานการถ่ายทำภาพยนตร์และโทรทัศน์และเร่งดึงดูดวิสาหกิจอุตสาหกรรมภาพยนตร์และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่เกี่ยวเนื่อง พร้อมออกมาตรการและสิทธิประโยชน์ในการถ่ายทำ/ผลิตภาพยนตร์และโทรทัศน์ในเมืองเซี่ยเหมิน นอกจากนั้น ยังเร่งผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาอื่น ๆ อาทิ อุตสาหกรรมเกมส์และแอนิเมชัน โดยการสนับสนุนการลงทุนของวิสาหกิจเกมส์และแอนิเมชันทั้งจากบริษัทใหญ่ของจีนและต่างประเทศ สร้างเทรนด์การตลาดใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ เทคโนโลยี 5G เทคโนโลยี VR เทคโนโลยี Games Clouds และเทคโนโลยี AI

    นอกจากนั้น ด้านการศึกษาเมืองเซี่ยเหมินยังส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจกับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของเมืองเซี่ยเหมินด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ มหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านแอนิเมชัน เทคโนโลยี AI เทคโนโลยี 5G เทคโนโลยี 3D Big Data เทคโนโลยีการถ่ายทำภาพยนตร์ภาพเสมือนจริง XR และแพลตฟอร์ม Cloud เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเกมส์และแอนิเมชันของเมืองเซี่ยเหมินทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งรัฐบาลเมืองเซี่ยเหมินยังส่งเสริมการสร้างอุตสาหกรรมดนตรีที่แข็งแกร่งระดับประเทศ โดยเร่งบ่มเพาะนักดนตรีและวงดนตรีท้องถิ่นให้มีชื่อเสียง และสนับสนุนการจัดงานเทศกาลดนตรีระดับสากล รวมถึงนิทรรศการด้านดนตรีระดับสากล อาทิ The 1st China Opera Festival, Gulangyu Piano Festival Gulangyu Music Festival, National Excellent Musical Exhibition Xiamen และ Xiamen Philharmonic Orchestra โดยในปี 2567 มีการเชิญศิลปินที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ อาทิ Don Diablo ดีเจชื่อดังชาวดัตช์ Yuri Medianik นักดนตรีชื่อดังชาวรัสเซีย และ Leon Botstein วาทยกรชื่อดังชาวสวิส-อเมริกัน รวมทั้ง นิชคุณ หรเวชกุล ศิลปินไอดอลชาวไทยที่มีชื่อเสียงในวงการ K-POP ของเกาหลีใต้ มาแสดงคอนเสิรต์ในเมืองเซี่ยเหมินอย่างคับคั่งตลอดทั้งปี ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เมืองเซี่ยเหมินมีชื่อเสียงในแวดวงดนตรีต่างประเทศ และดึงดูดเม็ดเงินสู่อุตสาหกรรมดนตรีและธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมือง

    3. ส่งเสริมอุปทานการท่องที่ยว

        3.1) ผลักดันศักยภาพการท่องเที่ยวทางทะเล/พื้นที่ชนบท พัฒนาการบริการการท่องเที่ยวชายฝั่งและพื้นที่ชนบทภายนอกเกาะเซี่ยเหมิน โดยเร่งก่อสร้างโครงการลงทุนเกี่ยวกับการสันทนาการ/กีฬาทางน้ำในอ่าวอู่หยวน หวนตงลั่งม่านเซี่ยน (欢动浪漫线) เขตนิทรรศการกีฬาภาคตะวันออก และอ่าวหม่าหลาน เพื่อสร้างเป็นฐานสำหรับการสันทนาการ/กีฬาทางน้ำระดับชาติ พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์และขยายระบบโลจิสติกส์ไปยังชนบทของเมืองเซี่ยเหมิน และออกมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายการท่องเที่ยวภายในเมืองเซี่ยเหมิน นอกจากนั้น ยังมุ่งยกระดับห่วงโซ่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในกลุ่มอื่น ๆ อาทิ การท่องเที่ยวสำหรับ คู่แต่งงานใหม่ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และการท่องเที่ยวแบบครอบครัวอีกด้วย

       3.2) ส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับไต้หวันและต่างประเทศ ส่งเสริมความร่วมมือภาคการท่องเที่ยวระหว่างช่องแคบไต้หวัน โดยเน้นการสืบทอด/การคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) ผลักดันสินค้าจากเมืองเซี่ยเหมิน (Xiamen Products) แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนั้น ยังสนับสนุนด้านการเงินแก่สายการบินต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม BRI ที่ใช้บริการผ่านสนามบินนานาชาติเซี่ยเหมิน เพื่อยกระดับสภาพแวดล้อมการลงทุน/การคมนาคมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเซี่ยเหมิน นอกจากนั้น เมืองเซี่ยเหมินเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา โดยมีการส่งเสริมการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติ อาทิ การจัดการแข่งขัน 2024 CBA (Chinese Basketball Association) All-Star ที่ศูนย์กีฬาโอลิมปิคในเขตเสียงอันเมืองเซี่ยเหมิน ขณะที่หน่วยงานภาครัฐอย่างกรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเมืองเซี่ยเหมินก็มีความร่วมมือ    กับบริษัท CBA ผลักดันกิจกรรม “การท่องเที่ยว + กีฬา หรือ (跟着赛去旅游)” ที่ช่วยดึงดูดการท่องเที่ยวในเมืองเซี่ยเหมินและยังช่วยโปรโมทสถานที่ท่องเที่ยวในเขตเสียงอันด้วย

                3       4  


           ล่าสุด เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2567 เขตถงอันยังได้จัดการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีการลงนามโครงการที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญ อาทิ โครงการสันทนาการและกีฬาทางน้ำบริเวณหวนตงล่างม่าน (环东浪漫) โครงการนิทรรศการดนตรี และโครงการนำร่องเส้นทางการบินกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (东南亚国际精品航线) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทยด้วย

   5      6       7  

การแข่งขัน 2024 CBA (Chinese Basketball Association) All-Star จัดขึ้นเป็นเวลาทั้งหมด 2 วัน มีจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันทั้งหมดเกิน 1.5 หมื่นคน ซึ่งมีผู้เข้าชมจากต่างเมืองคิดเป็นร้อยละ 65 จากการจำนวนผู้เข้าชมทั้งหมดและสร้างรายได้จากการจำหน่ายตั๋ว 7.1 ล้านหยวน

    โอกาสความร่วมมือของไทย จีนมุ่งผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีศักยภาพสูงระดับโลก ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวจาก ทั่วโลก และกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทโลกปัจจุบันที่หลายประเทศต่างมุ่งผลักดัน การฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ จีนเองก็มีการออกมาตรการอย่างเป็นระบบเพื่อหวังดึงดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศมากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศเช่นกัน อาทิ การยกเว้นการตรวจลงตราให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายประเทศ การอนุญาตให้สถานที่ท่องเที่ยวและโรงแรมระดับ 3 ดาวของจีนรองรับการใช้บัตรเครดิต หรือการเปิดให้ใช้บัตรเครดิตต่างประเทศสมัครแอปพลิเคชันชำระเงินของจีนอย่าง Alipay เป็นต้น

    โดยศูนย์ BIC มองว่า เมืองเซี่ยเหมินเป็นเมืองต้นแบบด้านการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยมีการวางนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ควบคู่กับการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ และมีการกำหนดสาขาหลักที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่ล้ำสมัยเพื่อสร้างอุปทานรองรับ ได้แก่ ภาพยนตร์และโทรทัศน์ เกมส์และแอนิเมชัน ดนตรี และกีฬา และการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับต่างประเทศและมาตรการจูงใจในสาขานั้น ๆ เพื่อสร้างอุปสงค์ รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ในชนบทภายนอกเกาะเซี่ยเหมินเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

    ขณะที่ไทยตั้งเป้าหมายการขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวโดยใช้จุดเด่นจาก Soft Power ของไทย ซึ่งสอดคล้องกับสาขาเป้าหมายของเมืองเซี่ยเหมิน และโดยคำนึงถึงว่า ไทยและจีนได้ลงนามความตกลงฯ ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราซึ่งกันและกันสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาและหนังสือเดินทางกึ่งราชการ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมาแล้ว ไทยก็สามารถจับคู่ความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวรายสาขากับเมืองเซี่ยเหมิน โดยเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน การพัฒนาบุคลากรในสาขาที่ไทยมีความต้องการและเซี่ยเหมินมีศักยภาพ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริการและความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว อันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจจากรากฐานทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนด้วย

 

แหล่งที่มา

บทความเรื่อง “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวและโอกาสความร่วมมือ สาเนา 0700 1300
ของไทย” โดยศูนย์ BIC เมืองเซี่ยเหมิน

https://m.thepaper.cn/baijiahao_26878011
https://news.xmnn.cn/xmxw/202401/t20240113_122852.html
https://www.thaipost.net/sport-news/519240/
https://sports.xm.gov.cn/tyxw/202311/t20231113_2797794.htm
https://sports.sohu.com/a/772595037_121106994
https://xm.cnr.cn/gqlb/ta/20240401/t20240401_526647664.shtml
https://baijiahao.baidu.com/s?id=1781533897901464663&wfr=spider&for=pc
https://www.gov.cn/zhengce/content/2022-01/20/content_5669468.htm