วันที่นำเข้าข้อมูล 19 มี.ค. 2567
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 8 เม.ย. 2567
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในจีนกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลายเป็นภาคส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ รัฐบาลจีนเล็งเห็นถึงจุดแข็งของตนเอง นั่นคือ “การผสมผสานของวัฒนธรรมที่หลากหลายและโดดเด่น” โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของภาคการผลิตเชิงสร้างสรรค์ โดยมองว่าเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองใหญ่ต่าง ๆ โดยเน้นการดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถเข้ามาในจีน การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมส่งเสริมการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภายใต้การดำเนินนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ควบคู่กับการส่งเสริมยุทธศาสตร์ Made in China 2025 โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งออกวัฒนธรรมจีนสู่สากลในรูปโฉมที่ทันสมัย
มณฑลฝูเจี้ยนเป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของจีนในแง่ของภูมิรัฐศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านระหว่างช่องแคบไต้หวัน อีกทั้งในช่วงปีที่ผ่านมา บทบาทของมณฑลฝูเจี้ยนทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในมุมของการเป็นเมืองแห่งการเผยแพร่อำนาจละมุนของจีน ผ่านการใช้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในสาขาต่าง ๆ ทั้งสาขาดั้งเดิม และการขยายไปยังสาขาใหม่ ๆ รายงานฉบับนี้ ศูนย์ BIC จะนำเสนอศักยภาพของมณฑลฝูเจี้ยนและเมืองเซี่ยเหมินด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสาขาหลักที่เกี่ยวข้อง และโอกาสความร่วมมือกับไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่จะใช้ประโยชน์จาก soft power ในการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานราก
อย่างยั่งยืน
ศักยภาพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในมณฑลฝูเจี้ยน
ภาพยนตร์และโทรทัศน์ตั้งแต่ปี 2562 รัฐบาลกลางจีนเริ่มสนับสนุนให้มณฑลฝูเจี้ยนเป็นหนึ่งในฐานการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศ โดยเน้นการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มณฑลฝูเจี้ยนหลากหลายสาขา อาทิ ภาพยนตร์และโทรทัศน์ ดิจิทัลคอนเทนต์ เกม แอนิเมชัน การออกแบบ ทัศนศิลป์ แฟชั่น และการโฆษณา โดยเฉพาะสาขาภาพยนตร์และโทรทัศน์เป็นสาขาที่มีความโดดเด่นและมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยตั้งแต่ปี 2562 เมืองเซี่ยเหมินได้รับเลือกจากรัฐบาลกลางจีนให้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลไก่ทองคำและไป๋ฮวาแห่งประเทศจีน (China Golden Rooster and Hundred Flowers Film Festival) ต่อเนื่องทุกปีจนถึงปี 25722 ซึ่งสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลกลางจีนที่ต้องการผลักดันให้เมืองเซี่ยเหมินเป็นเมืองที่มีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยจัดขึ้นในช่วงปลายปีซึ่งเป็นเวลาไล่เลี่ยกันกับงานเทศกาลภาพยนตร์ม้าทองคำของไต้หวันอีกด้วย ขณะที่รัฐบาลเซี่ยเหมินมุ่งใช้เทศกาลภาพยนตร์ไก่ทองคำเป็นเวทีในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยเขตจี้เหม่ยและเขตเสียงอันของเมืองเซี่ยเหมินถูกกำหนด เป็นพื้นที่หลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์
ปัจจุบันมณฑลฝูเจี้ยนได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรมของจีน และสมาคมภาพยนตร์แห่งประเทศจีนในการพัฒนาให้ฝูเจี้ยนเป็น “พื้นที่แห่งการถ่ายทำภาพยนตร์ระหว่างช่องแคบได้หวัน” เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของจีน และเปิดโอกาสให้กองถ่ายภาพยนตร์จากมณฑลต่าง ๆ ของจีนและต่างประเทศเข้ามาใช้สถานที่ถ่าย ทำภาพยนตร์ในมณฑลฝูเจี้ยนและสถานที่ต่าง ๆ ในจีน โดยเน้นส่งเสริมเมืองเซี่ยเหมินเป็นเมืองแห่งภาพยนตร์ของจีน และเมืองจางโจและเมืองหลงเหยียนเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ที่สำคัญของมณฑล โดยจากสถิติในปี 2566 เมืองเซี่ยเหมินเป็นที่ตั้งของบริษัทภาพยนตร์และโทรทัศน์รวมกว่า 3,500 แห่ง ซึ่งกว่าร้อยละ 85 เป็นบริษัทจดทะเบียนใหม่หลังปี 2562 ภายหลังจากที่เมืองเซี่ยเหมินได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดเทศกาลไก่ทองคำ และมูลค่าการลงทุนจากบริษัทดังกล่าวรวม 2.8 หมื่นล้านหยวน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมูลค่าการลงทุนกว่าร้อยละ 50 ของ อุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ของมณฑลฝูเจี้ยน
ละครซีรีส์ที่ถ่ายทำในเมืองเซี่ยเหมินส่วนใหญ่เป็นแนวรักโรแมนติกในยุคใหม่ อาทิ "Let's Watch The Meteor Shower" "Reset" และ "Under The Skin" รวมถึงภาพยนตร์จีนย้อนยุค/กำลังภายใน ก็ได้รับความนิยมในเมืองเซี่ยเหมิน โดยในปี 2566 มี บริษัทถ่ายทำภาพยนตร์และโทรทัศน์กว่า 304 รายมาถ่ายทำที่เมืองเซี่ยเหมิน ส่งผลให้มีการบริโภคในท้องถิ่นกว่า 1.23 พันล้านหยวน
ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในเมืองจางโจวส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์แนวรักโรแมนติกผสมผสานกับแนวสงครามอิงประวัติศาสตร์ รวมถึงละคร/ซีรีส์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่แถบชนบท อาทิ "The Knot" และ "Court of Final Determination" จนถึงปัจจุบันมีการถ่ายทำภาพยนตร์และโทรทัศน์แล้วกว่า 200 เรื่องที่เมืองจางโจว
ภาพยนตร์ที่ถ่ายหัวในเมืองหลงเหยียบส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์สงคราม ประวัติศาสตร์ วีรกรรมทหารจีน และแนวปลุกใจให้รักชาติ อาทิ "Big Fish & Begonia" "Gone with the Bullets" uaz "The Bugle from Gutlan” ซึ่งเป็นภาพยนตร์สงคราม เชิงประวัติศาสตร์ที่ถ่ายทำที่อำเภอยู่เถียน เพื่อฉลองครบรอบ 70 ปี ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน
อุตสาหกรรมเกมและแอนิเมชัน
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมและแอนิเมชันของมณฑลฝูเจี้ยนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่นครฝูโจวและเมืองเซี่ยเหมิน โดยเฉพาะเมืองเซี่ยเหมินเป็นหนึ่งในเมืองกลุ่มแรกของจีนที่เริ่มให้ความสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม เกมและแอนิเมชั่น และเป็นฐานการผลิตเกมและแอนิเมชันเพื่อการส่งออกไปยังพื้นที่นอกจีนแผ่นดินใหญ่ อาทิ ฮ่องกง มาเก๊า ได้หวัน และประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการ อาที (1) โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่ง (2) ความพร้อมด้านบุคลากร (3) เป็นฐานรองรับการลงทุนของ ผู้ประกอบการเกมจากไต้หวันจำนวนมาก ที่ตั้งหลักของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเกมและแอนิเมชันในมณฑลฝูเจี้ยนคือ Fuzhou Software Park และ Xiamen Software Park ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นฐานอุตสาหกรรมแอนิเมชันแห่งชาติของ จีน และเป็นที่ตั้งของวิสาหกิจเกมและแอนิเมชันชั้นป่าจำนวนมาก อาทิ บริษัท NetDragon Websoft Inc. บริษัท G-BITS Network Technology (Xiamen) บริษัท 4399 Network จํา บริษัท MIGU บริษัท Qingci Game Digital Technology Xiamen) บริษัท Xiamen Dianchu Technology และบริษัท Feiyu Technology International
ทั้งสองนิคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ดังกล่าว สามารถรองรับวิสาหกิจได้ 4,000 ราย และบุคลากรกว่า 400,000 คน โดยปัจจุบัน มูลค่ารายได้ของทั้งสองนิคมฯ สูงกว่า 3 แสนล้านหยวนต่อปี อุตสาหกรรมอาหารและการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมอาหารและการแปรรูปอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมโดดเด่นของมณฑลฝูเจี้ยนตั้งแต่อดีตสร้าง รายได้สูงกว่า 7 แสนล้านหยวนต่อปี สูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ เนื่องจากปัจจัยเกื้อหนุนด้านทรัพยากรการเกษตรที่ อุดมสมบูรณ์และเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปครบวงจร โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่อำเภอหลงไห่ของเมืองจางโจว (ฐานการ ผลิตอาหารของมณฑล) เมืองสือชื่อ (เมืองระดับอำเภอของเมืองเฉวียนโจว) และอำเภอขาเขียนของเมืองชานหมิง ครอบคลุมห่วงโซ่การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ผลไม้และผักบรรจุกระป๋อง และขนมขบเคี้ยว เป็นต้น และผลิตภัณฑ์อาหารโป มณฑลฝูเจี้ยนมีการส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น รัสเซีย ภูมิภาคยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบัน มณฑลฝูเจี้ยนมุ่งใช้ประโยชน์จากการเป็นที่ตั้งของวิสาหกิจอาหารและการแปรรูปอาหารชั้นนำ จำนวนมากในการวิจัยและพัฒฒนาเทคโนโลยีด้านอาหารที่ช่วยปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของอาหาร ตั้งแต่กระบวนการ สรรหาวัตถุดิบ ขนส่ง และแปรรูป และส่งเสริมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมถึง เทคโนโลยีการอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze dehydration) เทคโนโลยี Cold plasma" และเทคโนโลยีรีไซเคิลเศษ อาหารเป็นปุ๋ย โดยมีบริษัทในอุตสาหกรรมอาหารที่โดดเด่น อาทิ บริษัท Tongcheng (Fujian) Nutrition Food ผู้วิจัย ผลิตและจำหน่ายอาหารเสริมเด็กคุณภาพสูง บริษัท Fujian Ranti Food Group ผู้ผลิตเค้กและเบเกอรี่ด้วยเทคโนโลยี อัจฉริยะ บริษัท Purple Mountain Group ผู้ผลิตอาหารกระป๋องรายใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของจีน บริษัท Fujian Red Sun Superfines ผู้ผลิตสาหร่ายทะเลสำเร็จรูปและฐานแปรรูปอาหารต้องขนาดใหญ่ระดับประเทศ บริษัท AB-InBev
Sedrin Brewery โรงงานผลิตเบียร์ขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก และบริษัท Fujian Sunner Development ผู้ผลิต และแปรรูปไก่พันธุ์ White Leghorn ที่ใหญ่ที่สุดของจีน และใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก ภาพรวมนโยบายในมณฑลฝูเจี้ยน ที่ผ่านมารัฐบาลฝูเจี้ยนได้ทุ่มเงินลงทุนจำนวนมากในการผลักดันนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ส่งผลให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในมณฑลฝูเจี้ยนเติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการออกแผนปฏิบัติการพัฒนา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์คุณภาพสูงระยะ 3 ปี (ปี 2567 - 2569) โดยมีมาตรการสำคัญ ได้แก่ (1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ฐานการส่งออกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน นิคมอุตสาหกรรมด้านการออกแบบแฟชั่น ไลฟ์สไตล์ ภาพยนตร์ และเกม ฯลฯ เพื่อดึงดูดบริษัทด้านอุตสาหกรรม สร้างสรรค์จากมณฑลต่าง ๆ ของจีนและต่างประเทศเข้ามาใช้สถานที่และสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (2) การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง โดยเน้นส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า ผลผลิตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในมณฑล และส่งเสริมห่วงโซ่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในมณฑลที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม อาทิ “เครื่องย่อยอาหารให้เป็นปุ๋ย” โดยสามารถนำเศษอาหารจำพวกผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ใส่เครื่องนี้ และผลิตออกมาเป็นปุ๋ยได้อย่างง่ายดาย (3) การสร้างบุคลากร โดยส่งเสริมการฝึกฝนและพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อผ่าน หลักสูตรของสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง อาทิ มหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิ่น มหาวิทยาลัยฝูโจว และมหาวิทยาลัยจี้เหม่ย รวมถึงจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และยกระดับทักษะบุคลากรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ครอบคลุม การฝึกอบรมทั้งบุคลากรที่เพิ่งจบการศึกษา และบุคลากรซึ่งอยู่ในตลาดแรงงานอยู่แล้ว นัยต่อไทย จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า มณฑลฝูเจี้ยนได้วางแผนผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อย่างเป็นระบบมาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการใช้ข้อได้เปรียบด้านความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมกับเอเชียตะวันออกเฉียงได้ ทรัพยากรการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ และการพัฒนานวัตกรรมการผลิตอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแบบ ครบวงจร รวมถึงการสร้างบุคลากรด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองต่อนโยบายในรัฐบาลกลางจีนในภาพกว้าง ซึ่งมุ่งหวังที่ จะส่งออกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมถึงภาพยนตร์และโทรทัศน์ เกมและแอนิเมชันจีนในฐานะสินค้าทางวัฒนธรรมไป ทั่วโลก และขยายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การท่องเที่ยว อาหาร บริการ หรือสินค้าอื่น ๆ
ดังนั้น มณฑลฝูเจี้ยนโดยเฉพาะเมืองเซี่ยเหมินจึงเป็นอีกหนึ่งตลาดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่น่าสนใจในแง่ของ การศึกษารูปแบบการส่งออกอำนาจละมุนของไทยอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังเป็นช่องทางสำหรับขยายความร่วมมือด้าน การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ในสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ข้างดัน อาทิ สาขาภาพยนตร์และโทรทัศน์ เกมและแอนิเมชัน และอาหารและการแปรรูปอาหาร ซึ่งล้วนสอดรับกับความต้องการของไทยในการผลักดันการพัฒนา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบุคลากร/ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการคำนึงถึงการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนด้วย
แหล่งที่มา
1. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเซี่ยเหมิน
2. https://36kr.com/p/2516837370105858
3. https://zhuanlan.zhihu.com/p/668379379
4. https://ti.fl.eov.cn/ezcy/box/detail.htm?id=877542
5. https://wap.peopleapp.com/article/7305660/7143164
6. https://www.stats.gov.cn/sj/zxfb/202401/1202401291946971.html5:56
เวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ 8:30 - 16:30 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)